รวมคำถาม-ตอบ จากการประชุมชี้แจงมาตรการลดความเสี่ยงจากการใช้ยา มกราคม 5, 2024 มกราคม 10, 2024
ประเด็นการทบทวนทะเบียนและการต่ออายุ การทบทวนและต่ออายุทะเบียนกระทำพร้อมกันหรือแยกกัน ควรแยกเรื่องการต่ออายุกับการทบทวนทะเบียนตำรับยาไหม?ดำเนินการต่ออายุใบสำคัญคู่ขนานกับการทบทวนทะเบียนตำรับยาไปพร้อมกันเลย การทบทวนทะเบียนตำรับยาที่ยังไม่ถึงรอบต่ออายุจะกระทำอย่างไร?เพื่อไม่ให้มีการได้เปรียบ-เสียเปรียบกันระหว่างบริษัทที่มีทะเบียนที่ถึงรอบต่ออายุแล้ว และบริษัทที่มีทะเบียนที่ยังไม่ถึงรอบต่ออายุ จะเสนอออกคำสั่งแก้ไขทะเบียนตำรับยาพร้อมกับการต่ออายุรอบแรก โดยบังคับใช้กับทุกทะเบียนตำรับยาด้วยมาตรการเดียวกัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติในภาคอุตสาหกรรม กรณีที่มีการเปลี่ยนสูตรของทะเบียนที่ต่ออายุรอบแรก ต้องส่งผล stability ก่อนไหม?ทะเบียนที่ต่ออายุรอบแรก ได้มารับทราบมาตรการก่อน เพื่อเตรียมวางแผนการผลิตและเก็บข้อมูล stability และวางตลาดด้วยสูตรใหม่ตามที่บริษัทเสนอและให้คำรับรองไว้ได้ก่อน ยาที่อยู่ในท้องตลาดในช่วงเปลี่ยนผ่านและยังเป็นสูตรเดิมอยู่ ให้ทำอย่างไร?ในช่วงเปลี่ยนผ่านให้ใช้สำหรับยาสูตรเดิม ซึ่งจะยังคงใช้ต่อไปจนสิ้นอายุโดยไม่ต้องเรียกเก็บคืนยา ประเด็นเรื่อง Quality Part กรณีมีการปรับสูตรตำรับโดยตัดตัวยาสำคัญออกFinished specification อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยตัดบางหัวข้อ เช่น assay และ dissolution ของตัวยาสำคัญที่ตัดออก แต่วิธีวิเคราะห์อาจยังคงเดิมได้Process Validation ทำเพิ่มเนื่องจากกระบวนการผลิตเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ต้องยื่นข้อมูลดังกล่าวให้ อย.ทราบ (แต่ต้องมีไว้สำหรับการตรวจ GMP)Stability เป็นไปตาม ASEAN guideline on stability study of drug product ทุกขนาดบรรจุ และต้องส่งรายงานผลความคงสภาพให้ อย.ทราบ ตามคำรับรองเงื่อนไขใช้เลขทะเบียนเดิม ในการต่ออายุ ไม่มีการเปลี่ยนเลขทะเบียนและชื่อการค้า เว้นแต่บริษัทที่มีปัญหา ขอให้หารือ อย.เป็นรายกรณี กรณีมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนตำรับยาทะเบียนที่ต่ออายุรอบแรก ให้ยื่นข้อมูลปรับแก้ไขสูตรตำรับใหม่มาพร้อมกับการต่ออายุโดยไม่ต้องยื่นคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง (ย.5) อีก ทะเบียนอื่น ๆ ที่ยังไม่ถึงรอบการต่ออายุ ให้ยื่นแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยคำสั่งแก้ไขทะเบียนตำรับยา จะได้รับยกเว้นค่าใช้จ่ายที่จัดเก็บในการยื่นคำขอ กรณีอ้างอิง/ไม่ได้อ้างอิงวิธีวิเคราะห์ตามตำรายากรณีที่วิธีวิเคราะห์ไม่มีในตำรายาฉบับที่ รมต. ประกาศ แต่มีปรากฏในตำรายาฉบับเก่ากว่า ผู้รับอนุญาตสามารถอ้างอิงวิธีวิเคราะห์ตามตำรายานั้น ๆ ได้ แต่ต้องแจ้งให้กองยารับทราบ โดยผู้รับอนุญาตไม่ต้องทำ full method validation แต่ทำ method verification ก็เพียงพอ กรณีใช้วิธีวิเคราะห์ตามตำรายา ไม่ต้องทำ method validation แต่หากเป็น in house method ต้องทำ method validation ประเด็นยาสำหรับส่งออกเท่านั้น (EXPORT ONLY)ทะเบียน export only มีการออก Certificate of a Pharmaceutical Product (CPP) ให้ได้ โดยจะระบุว่าไม่มีการจำหน่ายในประเทศ แต่ไม่สามารถออก Certificate of a Free Sale (CFS) ได้ ทั้งนี้ หากบริษัทมีเหตุผลความจำเป็นที่จะใช้คงสูตรเดิมสำหรับส่งออกแต่ประสงค์จะใช้เลขทะเบียนเดิมชื่อการค้าเดิมนั้นอาจพิจารณาให้มีเงื่อนไขว่าจะไม่จำหน่ายยาดังกล่าวในประเทศ กรณีนี้ขอให้บริษัทเสนอ อย.พิจารณาอนุญาตเป็นรายกรณี หากเป็นทะเบียนยาที่ขายในประเทศและมีการส่งออกไปต่างประเทศด้วย และประเทศปลายทางที่ส่งออกนั้นหน่วยงานกำกับดูแลยังคงอนุญาตสูตรเดิมอยู่ ให้บริษัทพิจารณาตัดสินใจ หากจะทำการตลาดเฉพาะส่งออกต่างประเทศจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนใหม่แบบ export only เท่านั้น เพราะใช้ระยะเวลาขึ้นทะเบียนน้อยกว่า แต่ถ้าไม่ประสงค์จะขึ้นทะเบียนใหม่จะใช้เลขทะเบียนเดิมชื่อการค้าเดิมเพื่อขายในประเทศ ต้องปรับแก้ไขตามมาตรการที่ชี้แจง ประเด็นอื่น ๆ การกำหนดวันสิ้นอายุยาการปรับสูตรตัวยาสำคัญ อนุญาตให้วันสิ้นอายุของสูตรใหม่เท่ากับวันสิ้นอายุของตามสูตรเดิม อย่างไรก็ตาม บริษัทต้องจัดทำคำรับรองในว่าจะติดตาม long term stability จนครบอายุ และส่งข้อมูล stability ดังกล่าวให้ อย.ทราบ ทั้งนี้ ในระหว่างที่ศึกษาข้อมูล long term stability แล้วพบว่ามียาที่ไม่ผ่านมาตรฐานต้องเรียกเก็บยาคืน (recall) รายการยาที่มีข้อกังวลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย ยาที่ไม่สามารถวิเคราะห์ตัวยาสำคัญได้ทำอย่างไร เพราะยาเก่าๆสูตรผสมไม่มีวิธีวิเคราะห์ตัวยาสำคัญในบางตัวถ้าเป็นยา low risk ของดู guideline ของ health canada มีเขียนถึงเรื่องนี้ไว้อยู่ Share this:
จบการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำงานในแวดวงอุตสาหกรรมยามานานกว่า 10 ปี เชี่ยวชาญด้าน QC/QA นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์ทางด้านร้านยา เคยเปิดร้านยาของตนเอง หากมีเวลาว่างมักไป part time ร้านยาต่างๆ และเคยดูแลร้านยาให้กับเจ้าของบริษัทที่ทำงาน ชื่นชอบการทำเว็บไซต์ สนใจด้าน Internet Marketing และเทคโนโลยี ทำเว็บไซต์ และ SEO เป็นงานอดิเรก
ดูเพิ่มเติม