สรุปการประชุมมาตรการลดความเสี่ยงจากการใช้ยาในกลุ่มโรคผิวหนัง
วัตถุประสงค์การประชุม
เพื่อชี้แจงมาตรการลดความเสี่ยงจากการใช้ยาในกลุ่มโรคผิวหนัง โดยมาตราการต่างๆมีดังนี้
- การปรับข้อบ่งใช้
- การปรับสูตรตำรับ
- การเพิ่มคำเตือน
รายการทะเบียนตำรับยาที่มีข้อกังวลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย
กลุ่มยาตาม ATC code | ตัวยาสำคัญ | จำนวนทะเบียนตำรับยา |
---|
D01 – ANTIFUNGALS FOR DERMATOLOGICAL USE | gentian violet | 8 |
D04 – ANTIPRURITICS, INCL. ANTIHISTAMINES, ANESTHETICS, ETC. | calamine + zinc oxide + boric acid + sulfur | 2 |
| liquefied phenol + calamine + zinc oxide | 1 |
| diphenhydramine + calamine | 11 |
| diphenhydramine + calamine + camphor | 5 |
| diphenhydramine + calamine + zinc oxide | 14 |
| diphenhydramine + calamine + zinc oxide + camphor | 1 |
| chlorpheniramine + calamine + zinc oxide | 1 |
D06 – ANTIBIOTICS AND CHEMOTHERAPEUTICS FOR DERMATOLOGICAL USE | sulfanilamide + tannin | 1 |
| sulfadiazine + zinc oxide | 1 |
| sulfanilamide | 1 |
| bacitracin + neomycin + clioquinol | 1 |
D07 – CORTICOSTEROIDS, DERMATOLOGICAL PREPARATIONS | triamcinolone + gramicidin + neomycin +nystatin | 1 |
| betamethasone + gentamicin + clioquinol + tolnaftate | 8 |
| betamethasone dipropionate + gentamicin + clotrimazole | 1 |
D08 – ANTISEPTICS AND DISINFECTANTS | acriflavine | 4 |
| euflavine | 1 |
| euflavine + thymol | 1 |
| nitrofural (nitrofurazone) | 4 |
| tetrachlorodecaoxygen | 1 |
| formaldehyde | 1 |
| mercurochrome | 4 |
| thiomersal | 6 |
ยาต้านเชื้อราที่ผิวหนัง (D01 – ANTIFUNGALS FOR DERMATOLOGICAL USE)
1.ตัวยา gentian violet (Topical solution)
ข้อบ่งใช้
- ยาเช็ดลิ้นที่เป็นฝ้าขาว ทาปากที่เป็นแผล ลิ้นแตกเป็นแผล เป็นขุย
- ใช้ทาแผลภายนอกเนื่องจากเชื้อรา แผลที่ถูกน้ำกัดตามมือ ตามเท้า แผลที่เกิดจากเชื้อรา
- รักษากระพุ้งแก้มและลิ้นเป็นฝ้าขาว ใช้ในการติดเชื้อแบคทีเรียและราใช้บรรเทาการติดเชื้อเฉพาะที่
ข้อกังวล
- Health Canada ได้ทบทวนข้อมูลความปลอดภัยแล้วพบว่า การสัมผัสกับสารดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง
ข้อเสนอ
- Health Canada ได้ทบทวนข้อมูลความปลอดภัยแล้วพบว่า การสัมผัสกับสารดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง
ข้อเสนอ
เพิ่มคำเตือนดังนี้
- ควรใช้ยานี้เฉพาะกรณีที่ไม่มียาอื่นทดแทนโดยใช้ในระยะสั้นเท่านั้น ไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเนื่องจากมีการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลอง พบว่าการสัมผัสยาดังกล่าวมีความเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็ง
- ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์หรือสตรีในระยะให้นมบุตร
ยาแก้คัน รวมทั้งแอนติฮิสตามีน (D04 – ANTIPRURITICS, INCL. ANTIHISTAMINES, ANESTHETICS, ETC.)
1.ตัวยา calamine + zinc oxide + boric acid + sulfur (powder)
2.ตัวยา liquefied phenol + calamine + zinc oxide (suspension)
ข้อบ่งใช้
- แก้เม็ดผดผื่นตามผิวหนังทั่วไป ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ละลายน้ำพอเปียก แล้วทาวันละ 3-4 ครั้ง
- เป็นยาผงละลายน้ำพอเปียกทาแก้เม็ดผด ผื่นคันตามผิวหนัง อาการแพ้จาก พิษแมลงกัดต่อย
- ใช้ทาบรรเทาอาการผดผื่นคัน จากแมลงสัตว์กัดต่อยผื่นคันจากถูก สิ่งระคายเคืองต่าง ๆ ผื่นคันจาก อาการลมพิษ ผื่นคันในร่มผ้า ผื่นผ้าอ้อมในเด็ก
ข้อกังวล
ไม่พบหลักฐานทางวิชาการเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสูตรตำรับดังกล่าว
ข้อเสนอ
ปรับสูตรตำรับเป็น calamine + zinc oxide หากผู้รับอนุญาตประสงค์จะคงอยู่ในสูตรตำรับยาเดิมไว้จะต้องส่งข้อมูลสนับสนุนด้านประสิทธิภาพเพิ่มเติม
3. ตัวยา diphenhydramine + calamine
4. ตัวยา diphenhydramine + calamine + camphor
5. ตัวยา diphenhydramine + calamine + zinc oxide
6. ตัวยา diphenhydramine + calamine + zinc oxide + camphor
7. ตัวยา chlorpheniramine + calamine + zinc oxide
ข้อบ่งใช้
ทาผิวหนังให้ชุ่มชื้น บรรเทาอาการคันเนื่องมาจาก ผด ผื่น แดดเผา แมลงสัตว์กัดต่อย อาการแพ้จากสารบางอย่าง ลมพิษผื่นแพ้ผ้าอ้อมของเด็กอ่อน
ข้อเสนอ
เพิ่มคำเตือนดังนี้
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส ผื่นพิษจากพืช หรือผิวไหม้แดด
- ห้ามทาเป็นบริเวณกว้างบนร่างกาย
- ห้ามทาผิวหนังที่มีแผลเปิด แตก พองหรือมีหนองไหล
- ห้ามใช้เกินปริมาณที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ
- ห้ามใช้ร่วมกับยา Antihistamine ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น รูปแบบรับประทาน
Federal Register/ Vol. 62 , No. 168 / Friday, August 29 , 1997 / Proposed Rules
ยาปฏิชีวนะใช้ในโรคผิวหนัง (D06 – ANTIBIOTICS AND CHEMOTHERAPEUTICS FOR DERMATOLOGICAL USE)
1. sulfanilamide + tannin (powder)
2. sulfadiazine + zinc oxide (powder)
3. sulfanilamide (powder)
ข้อบ่งใช้
- เป็นยากำจัดเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนอง เช่น แผลพุพอง แผลสิว แผลติดเชื้อ แผลเรื้อรัง แผลฝีต่าง ๆ โรยสะดือเด็ก แผลไฟไหม้ แผลสด แผลเท้าเปื่อย
- ใช้โรยแก้ผดผื่นคันตามผิวหนัง คันในร่มผ้า คันตามซอกมือ ซอกเท้า และใช้โรยแผลสะดือเด็กคลอดใหม่
- ใช้สำหรับโรยแผล แผลพุพอง แผลมีเชื้อ ใช้ทาหรือแต้มที่หัวสิว เพื่อรักษาอาการอักเสบของสิว
ข้อกังวล
- ยากลุ่ม sulfa ในรูปแบบผงไม่มีประเด็นกังวลหากใช้กับบาดแผลขนาดเล็ก แต่ไม่ควรใช้กับแผลลึกดังนั้นต้องตัดข้อบ่งใช้ดังกล่าวออก
- ยาในกลุ่มนี้ประกอบด้วยยาต้านจุลชีพ ไม่ควรกำหนดข้อบ่งใช้เพื่อแก้ผดผื่นคัน
ข้อเสนอ
ปรับข้อบ่งใช้ให้สอดคล้องกับข้อมูลวิชาการ โดยอนุญาตให้ใช้กับแผลที่มีขนาดเล็ก ไม่ควรใช้กับแผลลึก และห้ามใช้สำหรับรักษาอาการผดผื่นคัน
4. bacitracin + neomycin + clioquinol (Powder)
ข้อบ่งใช้
ใช้สาหรับโรยแผล แผลพุพอง แผลมีเชื้อ ใช้ทาหรือแต้มที่หัวสิว เพื่อรักษาอาการอักเสบของสิว
ข้อกังวล
- ไม่พบหลักฐานทางวิชาการเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสูตรตำรับดังกล่าวในรูปแบบยาผง โดยใน OTC Monograph M004 พบสูตรตำรับ bacitracin + polymycin B ในรูปแบบผงเท่านั้น (ดูใน monograph แล้วพบว่า dosage form ที่แนะนำคือ bacitracin ointment base สำหรับ neomycin คือ ointment และ cream baseโดยมีข้อบ่งใช้ help prevent
infection in minor cuts, scrapes, and burns) - clioquinol มีอัตราการดูดซึม 40 % มีความเสี่ยงทำให้เกิดพิษของยา โดยเฉพาะในเด็กและผู้ที่แพ้ยานี้
ข้อเสนอ
- เสนอให้ตัดตัวยา clioquinol ออกจากสูตรตำรับ
- ให้ส่งข้อมูลสนับสนุนด้านประสิทธิภาพของสูตรตำรับ bacitracin + neomycin ในรูปแบบยาผง
ยาสเตียรอยด์ใช้ในโรคผิวหนัง (D07 – CORTICOSTEROIDS, DERMATOLOGICAL PREPARATIONS)
1.triamcinolone + gramicidin + neomycin +nystatin (cream)
2.betamethasone + gentamicin + clioquinol + tolnaftate
3.betamethasone dipropionate + gentamicin + clotrimazole
ข้อบ่งใช้
ใช้รักษาเชื้อรา เช่น กลาก,เกลื้อน,เชื้อราในร่มผ้า,น้ำกัดเท้าและรักษา อาการคันเนื่องจากเชื้อราดังกล่าว และรักษาแผลเนื่องจากติดเชื้อทั้ง Gram (+) และ Gram (-)
ข้อกังวล
- gentamicin เป็น gram (-) antibacterial agent ไม่ควรผสมในยาทาผิวหนัง
- clioquinol มีอัตราการดูดซึม 40 % มีความเสี่ยงทำให้เกิดพิษของยา โดยเฉพาะในเด็กและผู้ที่แพ้ยานี้
- การใช้ยาต้านจุลชีพสูตรผสมเป็นการใช้ยาเกินความจาเป็นทำให้มีความเสี่ยงเกิดเชื้อดื้อยา
ข้อเสนอ
- ตัด gentamicin ออกจากสูตรตำรับ
- ตัด clioquinol ออกจากสูตรตำรับ
- ปรับสูตรตำรับ เป็นสูตรผสมของ steroid + antibiotic หรือ antifungal อย่างใดอย่างหนึ่ง
ยาแอนติเซพติค ฆ่าเชื้อโรค (D08 – ANTISEPTICS AND DISINFECTANTS)
1.acriflavine (topical solution solution)
2.euflavine (cream)
3.euflavine + thymol (ointment)
ข้อบ่งใช้
acriflavine : สำหรับทารักษาแผล แผลเรื้อรัง แผลเปื่อยและแผลพุพอง
euflavine : เป็นครีมฆ่าเชื้อโรคมีคุณภาพในการรักษาบาดแผลต่าง ๆ เช่น แผลไฟไหม้ แผลพุพอง เป็นต้น
euflavine + thymol : รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลสด ผื่นบนผิวหนัง และแผลถลอก
ข้อเสนอ
ให้ผู้รับอนุญาตจัดเตรียมข้อมูลหลักฐานทางวิชาการด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย เพื่อแจ้งให้คณะอนุกรรมการเพื่อทราบว่า กองยาพิจารณาปรับสถานะยาในกลุ่มข้างต้นจากกลุ่มสีแดง เป็นกลุ่มสีเขียว
4.nitrofural (nitrofurazone)
ข้อบ่งใช้
- รักษาแผลที่ผิวหนัง แผลไฟไหม้และโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง
- สำหรับรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังที่บาดแผลต่าง ๆ แผลไฟไหม้ น้าร้อนลวก แผลเป็นหนอง และใช้ป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนังที่จะทำการปลูกถ่ายของทั้งผู้ให้และผู้รับ
- มีผลในการรักษาแผลที่เนื่องจากการติดเชื้อ เช่น แผลไฟไหม้ น้าร้อนลวก แผลสด แผลเรื้อรัง แผลอักเสบ
ข้อกังวล
- ข้อมูลของ WHO ระบุว่า nitrofural ทำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ในหลอดทดลอง และก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง
- ยากลุ่ม nitrofurazone ทั้งสูตรยาเดี่ยวและสูตรผสมที่ใช้ภายนอกอาจไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้ยา เพราะยามีหลักฐานประสิทธิภาพรักษาไม่เพียงพอ ขณะที่ยาเป็นสารกระตุ้นให้เกิดการแพ้ เช่น severe allergic contact dermatitis ในกรณีที่ใช้ยาบริเวณกว้าง ภาวะ stasis eczema/ulcer มีบาดแผลที่ขา เป็นต้น และไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบัน ยาจึงมีความเสี่ยงมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ
ข้อเสนอ
ขอให้ผู้รับอนุญาตส่งข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพิ่มเติม หากไม่ส่งข้อมูลภายในกำหนดเวลา อาจพิจารณาไม่ต่ออายุใบสาคัญเพราะในปัจจุบันมียารุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยมากกว่ามาทดแทน
5.tetrachlorodecaoxygen
ข้อบ่งใช้
ช่วยทำให้การหายของแผลดำเนินไปด้วยดี แผลที่มีโอกาสจะติดเชื้อง่าย แผลต่างๆ ที่เป็นปัญหา ได้แก่
- แผลติดเชื้อ
- แผลที่เกิดจากการนอนทับนาน ๆ
- แผลของผู้ป่วยเบาหวาน
- แผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก
- แผลที่มีเลือดมาเลี้ยงไม่พอ
- ร่องแผลที่เป็นหนองหรือช่องหนอง
- แผลที่มีโอกาสจะเป็นแผลนูน (คีลอยด์)
ข้อกังวล
ขาดข้อมูลเชิงประจักษ์ด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย ที่สนับสนุนข้อบ่งใช้
ข้อเสนอ
ให้ผู้รับอนุญาตส่งข้อมูลสนับสนุนประสิทธิภาพและความปลอดภัย เพื่อสนับสนุนข้อบ่งใช้ที่เป็นปัจจุบัน และเสนอปรับข้อบ่งใช้ตามข้อมูลสนับสนุนดังกล่าว กรณีที่ไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่เหมาะสม อาจพิจารณาไม่ต่ออายุ
6.formaldehyde
ข้อบ่งใช้
ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรค
ข้อกังวล
ตรวจสอบข้อมูลจาก Agency for Toxic Substances and Disease Registry (ATSDR) ระบุว่า Formaldehyde ไม่มีสี มีความเป็นพิษสูง แก๊สติดไฟได้ที่อุณหภูมิห้องมีความหนักกว่าอากาศ มีกลิ่นฉุน ที่ความเข้มข้นต่ำสามารถได้รับกลิ่นที่มีความระคายเคืองสูง มักใช้ในรูปแบบของ aqueous solution ที่ทำให้คงตัวด้วย methanol (formalin)
ข้อเสนอ
- ให้ผู้รับอนุญาตแสดงข้อบ่งใช้ที่ชัดเจนว่า ใช้สัมผัสกับผิวหนังมนุษย์หรือสัตว์ หรือไม่ อย่างไร
- ให้แสดงข้อมูลความปลอดภัยต่อผู้ใช้ เพื่อประเมินความสมดุลของประโยชน์และความเสี่ยง
7.thiomersal
8.mercurochrome
ข้อบ่งใช้
- รักษาแผลสด
- ใช้ทาผิวหนังเพื่อฆ่าเชื้อโรคในบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
- ใช้ทาเชื้อราที่เกิดจากโรคน้ำกัดเท้า
มาตรการ
ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2560 ประเทศภาคีต้องต้องยกเลิกการผลิต นำเข้า และส่งออก ภายในปี พ.ศ. 2563 แต่ในกรณีที่ภาคียังไม่สามารถจัดหาผลิตภัณฑ์ทดแทนได้ให้ภาคีแจ้งขอยกเว้นต่อสานักเลขาธิการเฉพาะกาลของอนุสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเวลา 5 ปี โดยประเทศไทยได้ขอยกเว้นการยกเลิกการผลิต นำเข้า และส่งออก ไปอีก 5 ปี เป็นปี พ.ศ. 2568
กองยาได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นและชี้แจงเกี่ยวกับอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท และแจ้งมาตรการจัดการทะเบียนตำรับยาฆ่าเชื้อสำหรับใช้ภายนอกที่มีส่วนประกอบของปรอท เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 โดยมีผู้รับอนุญาตที่มีทะเบียนตำรับยาดังกล่าวจานวน 7 บริษัท ซึ่งไม่มีผู้ใดคัดค้านต่อมาตรการที่กองยาเสนอให้ผู้รับอนุญาตยกเลิกทะเบียนตำรับยาฆ่าเชื้อใช้ชนิดใช้ภายนอก ที่มีส่วนประกอบของ thimerosal หรือ mercurochrome โดยสมัครใจ ก่อนเดือนธันวาคม 2568
Share this: