สรุปการประชุมมาตรการลดความเสี่ยงจากการใช้ยาในตำรับยาสูตรผสมแก้หวัด-ไอ
มาตรการลดความเสี่ยงของ ยาแก้หวัด-ไอ ของต่างประเทศ มาตรก […]
บทความนี้ ผมขอบอกก่อนว่า สรุปขึ้นจากการการประชุมพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อรองรับกรอบความตกลงอาเซียนสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ของ อย. เมื่อวันที่ 27/04/66 แต่เพื่อความไม่งง ต้องอธิบายก่อนว่า ในกรอบข้อตกลงอาเซียนที่เราจะพูดถึง เป็นกรอบข้อตกลงของยาแผนโบราณ (traditional medicine) และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งแต่เดิมการกำกับดูแลยาแผนโบราณของไทยจะอยู่ภายใต้ พรบ.ยา แต่ว่าปัจจุบันนี้ ยาแผนโบราณ ถูกย้ายประเภทไปเป็นยาแผนไทย ภายใต้ พรบ.สมุนไพร เรียบร้อยแล้ว ส่วนผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่เดิมจะอยู่ภายใต้ พรบ.อาหาร แต่ปัจจุบันหากเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ได้เคลมสรรพคุณใดๆ จะอยู่ภายใต้ พรบ.อาหารเหมือนเดิม แต่ถ้ามีการเคลมสรรพคุณ จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ตาม พรบ.สมุนไพร
ASEAN มีความต้องการจะรวมกลุ่มกัน จึงได้จัดทำกรอบความตกลงร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักดังนี้
หน้าที่ของ THMS PWG มีดังนี้
การทำหน้าที่ของ THMS PWG นี้ ทำงานภายใต้ 3 ด้านคือ
ความตกลงอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลด้านยาแผนโบราณ และความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้แบ่งเป็น 2 ความตกลง คือ ยาแผนโบราณ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่ละความตกลงมี 13 ข้อบท โดยเนื้อหาโดยส่วนใหญ่เหมือนกัน มีการใช้ภาคผนวกร่วมกัน ยกเว้นภาคผนวกในข้อบทที่ 4 (ยาแผนโบราณมี 9 หัวข้อ ส่วนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมี 10 หัวข้อ)
ที่เนื้อหาหลักโดยส่วนใหญ่เหมือนกันเพราะว่าแต่เดิมความตกลงนี้ทำร่วมกันเป็นอันเดียวกัน แต่ทำไปทำมา พบว่าผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างและหลากหลาย จึงตัดสินใจแยกออกเป็น 2 ความตกลง คือ ยาแผนโบราณ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในท้ายที่สุด
เนื้อหาของความตกลงอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลด้านยาแผนโบราณ และความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประกอบด้วย 13 ข้อบท ดังนี้
ก) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกในการสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิผล/การกล่าวอ้างคุณประโยชน์ของยาแผนโบราณ/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่วางจำหน่ายในภูมิภาคอาเซียน และ
ข) เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าของยาแผนโบราณ/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านข้อกำหนดทางเทคนิคและแนวทางต่างๆ ที่สอดคล้องกัน โดยปราศจากการประนีประนอมด้านความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิผล/การกล่าวอ้างคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เหล่านี้
ยาสำหรับมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยตัวยาสำคัญจากแหล่งธรรมชาติ (พืช สัตว์ และ/หรือแร่ธาตุ) ตามหลักการการแพทย์แผนโบราณ แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์ในรูปแบบปราศจากเชื้อ วัคซีน สารใดๆ ที่ได้มาจากส่วนประกอบของมนุษย์ และสารประกอบทางเคมีบริสุทธิ์ใดๆ ที่ได้มาจากการแยกสกัด
ผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปกติ เพื่อใช้ดูแล เพิ่ม และปรับปรุงหน้าที่ตามปกติของร่างกาย โดยอาจมีส่วนผสมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง หรือรวมกันของสารดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ รูปแบบการใช้อยู่ในหน่วยขนาดเล็ก เช่น แคปซูล เม็ด ผง ของเหลว เป็นต้น และไม่รวมถึงรูปแบบที่มีการเตรียมแบบปราศจากเชื้อ (ได้แก่ ยาฉีด ยาหยอดตา เป็นต้น)
ประเทศสมาชิกต้องดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อให้มั่นใจว่ายาแผนโบราณ/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของความตกลงนี้และภาคผนวก สามารถจำหน่ายอยู่ในตลาดได้
ภาคผนวก | ยาแผนโบราณ | ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร |
---|---|---|
1.รายการสารสำคัญห้ามใช้ | ✓ | ✓ |
2. รายการสารปรุงแต่งและสารช่วยที่ถูกจำกัดการใช้ | ✓ | ✓ |
3. ข้อกำหนดสิ่งปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ | ✓ | ✓ |
4. แนวทางการลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรคสมองฝ่อทีเอสอีในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร | ✓ | ✓ |
5. แนวทางการศึกษาความคงตัวและอายุของผลิตภัณฑ์ | ✓ | ✓ |
6. แนวทางการพิสูจน์ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ | ✓ | ✓ |
7. แนวทางการพิสูจน์การกล่าวอ้างสรรพคุณคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ | ✓ | ✓ |
8. แนวทางหลักเกณฑ์และวิธีการผลิตที่ดี (GMP) | ✓ | ✓ |
9. ข้อกำหนดการแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ | ✓ | ✓ |
10. เกณฑ์ปริมาณสูงสุดของวิตามินและแร่ธาตุในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร | – | ✓ |
11. เกณฑ์เรื่องสารที่ถูกจำกัดการใช้ (ไม่อยู่ในความตกลง แต่เป็นเกณฑ์ที่แต่ละประเทศใช้อ้างอิง) | ✓ | – |
ปล. จริงๆเมื่อปี 2561 ประเทศไทยเคยรับฟังความคิดเห็นไปแล้วรอบนึง แล้วพบว่าประเทศไทยยังไม่พร้อมสำหรับภาคผนวก 5 คือการศึกษา stability และภาคผนวก 8 GMP เราเลยสรุปไปเลยว่าขอลงนามไปก่อน แต่ขอเลื่อนระยะเวลาการปฏิบัติตามภาคผนวก 5 และ 8 ไปก่อน ซึ่งในระหว่างที่เราขอเลื่อนเราจะไม่ส่งออกไปประเทศ ASEAN (แต่ถ้าใครอยากส่งออก ก็ต้องทำตาม ASEAN หรือข้อกำหนดภายในของประเทศปลายทางนั้นๆ)
ปล2. สำหรับ GMP ของอาหาร ที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน อิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเอามาจาก Codex ใน WHO ซึ่งจะอ่อนกว่า GMP ASEAN ที่จะใช้กันตามข้อตกลงนี้
กรณีที่ประเทศสมาชิกเป็นสมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการปรับประสานมาตรฐานการผลิตที่ดี (GMP) ระดับสากล ประเทศสมาชิกนั้น อาจกำหนดให้ยาแผนโบราณต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ GMP ขององค์กรสากลนั้น ซึ่งบังคับใช้ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับของประเทศสมาชิกนั้นๆ
ยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสามารถวางจำหน่ายในตลาดได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนโดยผู้มีอำนาจกำกับดูแลในแต่ละประเทศสมาชิก
(ก็คือไม่ใช่ทำตามแล้วขายได้เลย ต้องขออนุญาตก่อนอยู่ดี)
ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องทำให้มั่นใจได้ว่าการตรวจติดตามเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์หลังออกสู่ตลาดมีความพร้อมในการเตือนภัยล่วงหน้าของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ใดๆ และ/หรือปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่อาจเกิดขึ้น และต้องใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของผู้บริโภค
จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการ (ATMHSC) ประกอบด้วยตัวแทนจากแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อทบทวน ตรวจสอบการดำเนินการตามความตกลง รวมถึงทบทวน ปรับปรุงภาคผนวกต่างๆ โดยเชิญภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วมประชุมในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ปล. ถ้าของยาแผนโบราณจะชื่อ ATM ส่วนของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะชื่อ HSC เรียกรวมกันชื่อ ATMHSC
ประเทศสมาชิกสามารถห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ในกรณีพิเศษเพื่อการปกป้องชีวิตหรือสุขภาพมนุษย์ สัตว์หรือพันธุ์พืช สิ่งแวดล้อม หรือวัฒนธรรมหรือความอ่อนไหวทางศาสนาแต่ต้องแจ้งให้ประเทศสมาชิกอื่นทราบพร้อมเหตุผล ภายใน 3 เดือน นับจากวันที่ห้ามการจำหน่ายหรือมีข้อจำกัด และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการอาเซียนทราบ
ก็คือถ้าประเทศสมาชิกอยากจะแบนอะไรเป็นกรณีพิเศษก็ทำได้ แต่ต้องแจ้งให้ประเทศสมาชิกทราบด้วย
ประเทศสมาชิกต้องดำเนินมาตรการที่เหมาะสมในการปฏิบัติตามความตกลงฯ นี้
จะดำเนินการตามพิธีสารว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาทที่ลงนาม ณ เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547
ความตกลงนี้ ต้องมอบไว้กับเลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องทำการรับรองสำเนาดังกล่าวไปยังแต่ละประเทศสมาชิก
สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของความตกลง ASEAN กับยาแผนโบราณ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ รวมถึงความคืบหน้าของกฎหมายผลิตภัณฑ์สมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับรองรับและปฏิบัติตามความตกลงนี้ อ่านได้ที่บทความ >>> ความคืบหน้าล่าสุดของความตกลง ASEAN กับยาแผนโบราณ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร