การตีความกฎหมายในทางแพ่งมีหลักเกณฑ์อย่างไร
หลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของของบทบัญญัตินั้นๆ”
หรือก็คือมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักไว้ว่า “การใช้กฎหมาย ให้พิจารณาจากข้อเท็จจริงมาปรับใช้กับบทบัญญัติที่เขียนไว้หรือตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย” ดังนั้นเราสามารถตีความได้ 2 แบบ คือ
- ตีความตามตัวอักษรที่ได้เขียนไว้ในบทบัญญัติของกฎหมาย
- ตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ในการตีความตามตัวอักษร แบ่งได้ 3 แบบ คือ
- คำศัพท์ธรรมดา ตีความตามความหมายธรรมดาของคำนั้น หรือความหมายตามพจนานุกรม
- คำศัพท์เทคนิค ตีความตามความหมายทางเทคนิคหรือในวิชาการ
- คำศัพท์ที่มีความหมายพิเศษ บางครั้งผู้บัญญัติกฎหมายต้องการใช้คำศัพท์คำนั้นให้มีความหมายมากกว่าปกติ จึงมีการกำหนดบทนิยามไว้
อย่างไรก็ดี ในบางครั้งเราต้องตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเนื่องจากการตีความตามตัวอักษรอาจยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอหรือตีความได้หลายความหมาย โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายดูได้จาก
- หมวดหมู่ของกฎหมายนั้น
- ถ้อยคำของบทบัญญัตินั้นๆ
- สถานการณ์ในขณะที่บัญญัติกฎหมายนั้น
- คำปรารถของกฎหมาย
- บันทึกหลักการและเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติ
- บันทึกของรัฐสภา
- หมายเหตุใต้พระราชบัญญัติ
Share this:
จบการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำงานในแวดวงอุตสาหกรรมยามานานกว่า 10 ปี เชี่ยวชาญด้าน QC/QA นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์ทางด้านร้านยา เคยเปิดร้านยาของตนเอง หากมีเวลาว่างมักไป part time ร้านยาต่างๆ และเคยดูแลร้านยาให้กับเจ้าของบริษัทที่ทำงาน ชื่นชอบการทำเว็บไซต์ สนใจด้าน Internet Marketing และเทคโนโลยี ทำเว็บไซต์ และ SEO เป็นงานอดิเรก
ดูเพิ่มเติม