วิเคราะห์เล่นๆ งบการเงิน Q2 2023 ของ Google ถ้ามีโฆษณาทั้งหมด 100 บาท Google ได้ไปประมาณ 83 บาท !!!
ไม่รู้คนอื่นคิดเหมือนผมไหมนะ แต่ผมว่าคนทำ content เห็นแ […]
คือต้องเข้าใจก่อนว่า กฎหมายลิขสิทธิ์ มันอัพเดทไม่ทันเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันมันเกี่ยวโยงไปถึงแค่ถ้ามีการพัฒนาหรือใช้ความพยายามในการสร้างสรรค์สิ่งนั้นขึ้นมาใหม่อย่างเพียงพอก็ถือว่าไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานเดิม
ทีนี้ต้องเข้าใจก่อนว่ากฎหมายลิขสิทธิ์มันมีทั้งความเป็นสากล (บังคับใช้ทั่วโลก) และความไม่แน่นอน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ตลอด เชื่อหรือไม่ว่าครั้งนึงศาลเลยตัดสินว่า google ไม่ผิด ที่แปลงไฟล์จากหนังสือที่มีลิขสิทธิ์เข้าสู่ระบบ search engine ของ google เพราะศาลมองว่า google แปลงมาแค่ส่วนที่เป็นสรุป ไม่ใช่ทั้งหมด และการแปลงข้อมูลจาก analog เป็น digital ถือว่าเป็นความพยายามที่มากเพียงพอแล้ว กลายเป็นช่วงนั้นก็อปเนื้อหาจากหนังสือลงเน็ตกันจ้าละหวั่น เพราะศาลบอกแล้วว่าไม่ผิด เอาสิ
จริงๆพวก regulator เค้าก็รู้แหละว่า กฎหมายอัพเดทไม่ทัน แต่เค้าก็ต้องระวังคำพิพากษาของเค้ามากๆเพราะถ้าตัดสินไป แล้วประเทศอื่นๆเอาไปใช้อ้างอิง มันจะเกิดผลกระทบมหาศาล แต่ที่มีคำตัดสินออกมาแล้วแน่ๆก็คือ “ผลงานที่สร้างสรรค์โดย AI ไม่มีลิขสิทธิ์” ดังนั้นใครจะก็อปรูปที่สร้างจาก AI ไปใช้ก็ได้ ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะศาลมองว่ากฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองเฉพาะผลงานที่สร้างสรรค์โดยคนเท่านั้น ไม่คุ้มครองผลงานที่สร้างโดยเครื่องจักรหรือ algorithm โดยแม้ว่าจะสร้างจาก prompt ที่คนนั้นคิดขึ้นมาเองอย่างยากลำบากแค่ไหนก็ตาม
แต่สำหรับประเด็นเรื่อง content ดั้งเดิมที่ AI เอาไปใช้เรียนรู้ ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ จริงๆเรื่องนี้มีการฟ้องร้องมาก่อนกันมาก่อนประเด็น “ผลงานที่สร้างสรรค์โดย AI มีลิขสิทธิ์ไหม” เสียอีก แต่ regulator ก็ยังอ้ำๆอึ้งๆเรื่องนี้อยู่ เพราะมันมี 2 ประเด็นหลัก ที่ต้องพิจารณาคือ
จริงๆทางผู้พัฒนาก็รู้มาตลอดว่าเค้าอาจมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ได้ แต่ว่าผู้พัฒนาแต่ละเจ้า ก็มีวิธีการรับมือที่แตกต่างกันไป
ทางฝั่ง OpenAI ที่เป็นผู้พัฒนา ChatGPT แผนเดิมคือไปเล่นเรื่อง fair use เอาง่ายๆคือตัวเองบอกว่าเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ดังนั้น content ที่ตัวเองสร้างจากผลงานคนอื่น ถือว่าเป็นการใช้ที่เป็นธรรม เพราะตัวเองเป็นเพียงองค์กรที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาและพัฒนาเท่านั้น ส่วนคนอื่นที่เอา content ที่ตัวเองใช้ถือว่าละเมิดไหม ไม่รู้ รอศาลตัดสินก่อนละกัน แต่ตัดจบที่ตัวเองใช้แบบ fair use พอ แต่ไปๆมาๆ แนวทางนี้ชักไม่ไหว เพราะว่าใช้เงินเยอะ เงินจะหมดก่อน เลยเริ่มหาตัง + เริ่มหาตังจริงๆจังๆมากขึ้นเรื่อยๆ
พอเริ่มหาตังจริงๆจังๆ เริ่มอ้าง fair use ไม่ไหวละ คราวนี้ก็เลยออกอาการ เอิ่มๆ ถ้าใน version หน้าๆ เราอาจจะมีแผนใส่ ref อ้างอิง แหล่งที่มาของของข้อมูลทั้งหมดที่เราเอามา generate ให้ดูละกัน จะได้แฟร์ๆเนอะ
ทางฝั่ง Bing ซึ่งเป็นของไมโครซอฟเนี่ย ตัวเองเป็นองค์กรแสวงหาผลกำไรแน่ๆ จะมาอ้าง fair use ไม่ได้ละ เลยใช้วิธีใส่ ref กับลิ้งที่ตัวเองเอามาใช้อ้างอิงให้หมดนั่นแหละ จะได้แฟร์ๆ กุจะได้ขายบริการใหม่ๆให้ลูกค้า ส่วนเจ้าของ content ก็ได้ channel ใหม่ในการเข้าถึงลูกค้า วินๆทั้งคู่ จบนะ
ทาง Google เนี่ยรู้ตัวว่า ส่ง Bard ช้าไป เพราะก่อนหน้านี้ตัวเองเป็นผู้นำเรื่อง AI มาตลอด การพัฒนาเลยค่อนข้างช้าเพราะมีการควบคุมและระมัดระวังค่อนข้างสูง (แต่จริงๆก็ไม่ได้คิดเพื่อสังคมอะไรขนาดนั้น แค่กลัวว่าถ้ามีอะไรผิดพลาดหรือมีปัญหาขึ้นมาตัวเองจะเสียชื่อเสียง+ภาพลักษณ์) พอเจอ OpenAI นำหน้าไปไกล Google เลยออกอาการ Aggressive กว่า
Google มีจุดแข็งตรงที่มีข้อมูลในมือมหาศาล แต่ Google ก็กังวลเรื่องลิขสิทธิ์เช่นเดียวกัน เพราะ Google มีประสบการณ์เรื่องลิขสิทธิ์มาเยอะ เจ็บมาเยอะ มีประสบการณ์โดนฟ้องทั้งเรื่องเก็บรูปภาพไว้ที่ server เนื้อหาที่แสดงหน้า SERPs ว่าแสดงได้ขนาดไหน การเก็บ cached บลาๆๆๆ แต่ด้วยความที่มันไม่ทันแล้วไง โดนแซงจนหุ้นตกขนาดนั้น Google เลยปล่อยไม้ตายเลย โดยการออกกฎว่า “ถ้าหากเว็บไหนก็ตามที่ยอมให้ Bot ของ Google เข้าไปเก็บข้อมูล เพื่อนำไปแสดงบนหน้า Search engine ของ google ได้ ถือว่ายินยอมให้นำเนื้อหาในเว็บนั้นไปเทรน AI ของ Google ได้” หรือพูดง่ายๆก็คือ ถ้าอยากให้เว็บของคุณขึ้นหน้า search ของ google ก็ยอมให้ใช้ content ซะ แต่ถ้าไม่ยอม คุณก็จะไม่ติดในหน้า search engine ของ google อีกต่อไป
ส่วนเรื่องลิขสิทธิ์ google พยายามหาทางออกโดยบอกว่า เรามี protocol ในการแสดง reference ของเรานะเว้ย ว่าแบบไหนจะแสดง หรือไม่แสดง แต่เราจะไม่แสดงทั้งหมด พอถามไปว่ามีหลักการใน protocol ยังไง ทำไมแสดงบ้าง ไม่แสดงบ้าง Google ก็ตอบว่ามันก็หลักการทั่วไปน่ะแหละ ถ้าเป็นเนื้อหาที่กุ quote ชาวบ้านเค้ามาทั้งดุ้น หรือเป็นข้อมูลงานวิจัยที่มีข้อโต้เถียงไรงี้ กุก็จะแสดงให้คนเข้าไปอ่านต่อได้ แต่ถ้าเป็นบทความธรรมดา กุก็ไม่แสดงก็ได้ แต่กุก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมานะ เพราะกุบอกแล้วว่า Bard มันอยู่ระหว่างการพัฒนา กุบอกชัดเจนไม่ได้ แต่คิดง่ายๆว่าถ้ากุเป็นคนเขียนบทความ แล้วตรงไหนที่กุคิดว่าสุ่มเสี่ยงจะละเมิดลิขสิทธิ์ กุก็จะยอมรับรู้การมีลิขสิทธิ์โดยการอ้างอิงให้ โอเคนะ แต่ถ้า regulator เปลี่ยนตรงไหน ก็บอกมา เพราะกุเปลี่ยนเรื่อยๆอยู่ละ ก็บอกไปแล้วว่ายังพัฒนาไม่เสร็จ ถ้ามองในภาพรวมก็คือ google พยายาม balance ความพอดีระหว่าง ผลประโยชน์ของตัวเอง + ความ happy ของลูกค้าและผู้ใช้งาน + มุมมองของกฎหมายและ regulator นั่นแหละ
ตอนนี้ทางยุโรป ได้มีการออกกฎหมายเพื่อควบคุม AI เป็นครั้งแรกของโลกแล้ว (และคาดว่าในอนาคตจะมี 2 ขั้ว คือขั้วประเทศที่ออกกฎหมายล้อตาม EU กับขั้วประเทศที่ล้อตามจีน (ซึ่งจีนแทบจะไม่ควบคุม AI ปล่อยอิสระเสรีเต็มที่)) ซึ่งจากอดีตที่ผ่านมา regulation ในไทยค่อนข้างล้อตาม EU ดังนั้นในอนาคตก็คาดว่าไทยน่าจะล้อตาม EU เช่นกัน
รายละเอียด EU AI Act มีคนสรุปให้แล้วในโพสต์นี้ >>>> https://web.facebook.com/photo/?fbid=10159566343861809&set=a.10150547951876809&_rdc=1&_rdr
ซึ่งที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์โดยตรง จะอยู่ที่ข้อ 4.1 และ 4.3
โดยข้อ 4.1 ระบุว่า “การเผยแพร่งานที่สร้างด้วย Gen AI ต้องระบุอย่างเปิดเผยทุกครั้งว่า ผลงานที่สร้างขึ้นมาเผยแพร่นั้นใช้เอไอสร้างขึ้น” ส่วนข้อ 4.3 คือ “ต้องตีพิมพ์รายชื่อสรุปข้อมูลซึ่งมีลิขสิทธิ์ที่นำมาใช้เทรนเอไอ” เป็นการบังคับว่า AI ต้องอ้างอิงและแสดงที่มาของข้อมูลที่นำมาเทรนทุกครั้ง
อย่างไรก็ดี กว่ากฎหมายนี้จะบังคับใช้เต็มรูปแบบก็อีก 2 ปี คือปี 2026 ดังนั้นถ้าเราเห็น AI ใน EU ตัวไหน ที่ยังไม่เป็นไปตามกฎนี้ก็อย่างพึ่งแปลกใจไป เพราะมันยังไม่บังคับใช้เต็มขั้นนั่นเอง